Monday, October 19, 2015

โมดูลของ SAP

โมดูลของ SAP มีดังนี้

SAP คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรขององค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่ง SAP จัดเป็น ERP ประเภทหนึ่งนั้นเอง การทำงานในปัจจุบันจะเป็น R/3 (ทำงานแบบ Client/Server) โดย
ในส่วน Application ทั้งหมดของระบบ SAPนั้น ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษา ABAP หรือ Advance Business Application Programming (ABAP/4 ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมในยุคที่ 4 หรือ 4GL เป็นคำที่เรียกใน SAP Release 3.0 ส่วนใน SAP Release 4.0 เป็นต้นไป จะเรียกว่า ABAP เนื่องจากมีการพัฒนาภาษาโปรแกรม ABAP เป็นแบบObject-Oriented มากขึ้น) ในส่วนของ Run Time หรือ Kernel ของระบบ SAP นั้นถูกพัฒนามาจากภาษา C/C++ ในส่วนของการ Implement ระบบ SAP นั้น จะมีการทำ Customization หรือ Configuration (จริงๆแล้วก็คือการกำหนดค่า Parameter ต่างๆ) ผ่านทาง Implementation Guide (IMG) เพื่อให้ระบบงาน SAP ทำงานได้กับองค์กรนั้นๆซึ่งก็คือ SAP เป็น ERP Software Package ที่มีการทำงานในส่วนของ Customization ในระบบ SAP ให้เข้ากับหน่วยงานนั้นๆได้
Module ต่างๆของ SAP
ใน SAP 4.7 Enterprise ลงไป เค้าจะเรียกว่า SAP R/3 ซึ่งหมายถึง โครงสร้าง 3-tier client/server ซึ่งประกอบด้วย
1. Presentation Server (เป็น GUI คือฝั่ง client นั่นเอง)
2. Application Server
3.  Database Server
ใน SAP 4.7 Enterprise ลงไปนั้น เราจะแบ่ง SAP เป็น module ต่างๆ ดังรูป
จากภาพเป็นการแสดงถึงระบบจำลองของ SAP ซึ่งประกอบไปด้วยโมดูลมากมาย ซึ่งแต่ละโมดูลมีฟังก์ชั่นการทำงาน และหน้าที่ต่างกันออกไปตามสายงาน โดยมี ABAP เป็นตัวเชื่อมโมดูลต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
โมดูลของ SAP มีดังนี้
FINANCIAL ACCOUNTING (Fl) – ระบบบัญชีไฟแนนซ์
• General ledger
• Book close
• Tax
• Accounts receivable
• Accounts payable
• Consolidation
• Special ledgers
CONTROLLING (CO) – ระบบควบคุมต้นทุน
• Cost elements
• Cost centres
• Profit centres
• Internal orders
• Activity based costing
• Product costing
มีโมดูลย่อยได้แก่
Overhead Cost Controlling (CO-OM)
• Cost and Revenue Element Accounting (CO-OM-CEL)
• Cost Center Accounting (CO-OM-CCA)
• Overhead Orders (CO-OM-OPA)
• Activity-Based Costing (CO-OM-ABC)
Product Cost Controlling (CO-PC)
• Product Cost Controlling (CO-PC)
• Product Cost Planning (CO-PC-PRD)
• Cost Object Controlling (CO-PC-OBJ)
Profitability Analyses (CO-PA)
ASSET MANAGEMENT (AM) – ระบบการบริหารจัดการทรัพย์สิน
• Purchase
• Sale
• Depreciation
• Tracking
PROJECT SYSTEMS (PS) – ระบบบริหารโปรเจ็กต์งาน
• Make to order
• Plant shut downs (as a project)
• Third party billing (on the back of a project)
SALES AND DISTRIBUTION (SD) – ระบบการขาย และการจัดจำหน่าย
• RFQ
• Sales orders
• Pricing
• Picking (and other warehouse processes)
• Packing
• Shipping
MATERIAL MANAGEMENT (MM) – ระบบบริหารวัสดุอุปกรณ์
• Requisitions
• Purchase orders
• Goods receipts
• Accounts payable
• Inventory management
• BOM’s
• Master raw materials, finished goods etc
PRODUCTION PLANNING (PP) – ระบบวางแผนการผลิต
• Capacity planning
• Master production scheduling
• Material requirements planning
• Shop floor
QUALITY MANAGEMENT (QM) – ระบบควบคุมคุณภาพ
• Planning
• Execution
• Inspections
• Certificates
PLANT MANAGEMENT (PM) – ระบบซ่อมบำรุง และงานดูแลต่างๆ
• Labour
• Material
• Down time and outages
HUMAN RESOURCE (HR) – ระบบบริหารงานบุคคล
• Employment history
• Payroll
• Training
• Career management
• Succession planning
มีโมดูลย่อยได้แก่
• Personnel Management (HR-PM)
• Organizational Management (HR-OM)
• Payroll Accounting (HR-PA)
• Time Management (HR-TM)
– Shift Planning
– Work Schedules
– Time Recording
– Absence Determination
– Error handling
• Personnel Development (HR-PD)
TREASURY (TR) – ระบบคลังสินค้า
มีโมดูลย่อยได้แก่
• Cash Management (TR-CM)
• Treasury Management (TR-TM)
• Funds Management (TR-FM)
• Market Risk Management (TR-MRM)
Workflow (WF) – ระบบกระบวนการทำงาน
INSDUSTRY SOLUTIONS (IS) – ระบบจัดการอุตสหกรรม
AP ย่อมาจาก System Application and Product in Data Processing
SAP เกิดขึ้นที่ประเทศเยอรมันในปี 1974 ถูกพัฒนาโดยการใช้โปรแกรม Program ABAP/4 หรือ Advance business application programming โดยปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาระบบ SAP ให้สามารถใช้งานได้บนมือถือแล้วเรียกว่า SAP Unwire นั่นเอง
SAP เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจประเภท ERP ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลกโดยใช้ควบคุมทุกสายงานของบริษัท และสามารถรองรับธุรกิจได้หลายประเภท
จุดเด่นของระบบคือ เป็นระบบที่สามารถทำงานเชื่อมโยงกันแบบ Online และ realtime ซึ่งช่วยลดความซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูลเเละเพิ่มความถูกต้องของข้อมูลด้วย
SAP มีหลายส่วน(ในขณะนี้เป็นเวอร์ชั่น 6) โดยแบ่งได้คร่าวๆดังนี้
SAP for industry
SAP xApps
mySAP Business Suite
SAP Smart Business Solution
SAP Netweaver สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้
การจะศึกษา SAP นั้นมีหลาย Module ครับซึ่งผู้ที่จะศึกษาส่วนใหญ่จะเน้นไปแต่ละ Module จนเชี่ยวชาญ ซึ่ง Module แบ่งได้หลากหลายดังนี้
FI – โมดูลทางด้านบัญชีการเงิน
CO – โมดูลทางด้านบัญชีจัดการหรือบัญชีบริหาร
AM – โมดูลทางด้านการจัดการสินทรัพย์
SD – โมดูลทางด้านการขายและกระจายสินค้า
MM – โมดูทางด้านการจัดการวัตถุดิบ
PP – โมดูลทางด้านการวางแผนการผลิต
QM – โมดูลทางด้านการวางแผนคุณภาพ
PM – โมดูลทางด้านการซ่อมบำรุงโรงงาน
HR – โมดูลทางด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล
WF – โมดูทางด้าน Flow การทำงาน
IS – เป็นส่วนงานเฉพาะกิจ ไม่ใช่โมดูลมาตรฐาน
Project Systems –
System Management – BASIS
Advanced Business Application Programming – ABAP
การทำงานของระบบ SAP จะทำงานแบบ 3-tiers คือ Database Server Layer, Application Server Layer และ Presentation Layer โดยการทำงานจะมี Dispatcher เป็นตัวติดต่อกับ SAP GUI และคอยกระจายงานให้กับ Work Process โดยตัว Dispatcher จะคอยตรวจสอบว่า Work Process ตัวใดว่างก็จะส่งงานให้ทำ จากนั้น Work Process ก็จะเข้าติดต่อกับ DB Process เพื่อนำข้อมูลออกมา
Work Process นั้นมี 5 ตัว ดังนี้
1. Enqueue – จะทำหน้า lock ข้อมูลเพื่อไม่ป้องกันไม่ให้ process เข้ามาทำงานทับซ้อนได้ในขณะที่ process ใด process หนึ่งทำงานอยู่
2. Dialog – เป็นส่วนที่ติดต่อกับ User
3. Background – เป็น process ที่ถูกรันอยู่ข้างหลังตลอดเวลา เช่น เราตั้งเวลาให้ process นี้ทำการตัดยอดทุกเที่ยงคืนเป็นต้น
4. Spool – เป็น process ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องพิมพ์ โดยทำหน้าที่เก็บ log file ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้สั่งพิมพ์ เวลาพิมพ์ พิมพ์จากเครื่องใด เป็นต้น
5. Update V1, V2 – เป็น process ที่คอยทำงานกับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ (Mass Data) โดย process จะแบ่ง priority เป็น 2 ระดับคือ V1 และ V2 โดยเราสามารถกำหนดให้ work process ทำงานแบบนี้ เช่น V1 > V2 นั่นหมายถึง V2 จะมี priority ในการทำงานต่ำกว่า V1 เป็นต้น
ภายใน Work Process แต่ละอัน จะประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
ส่วนที่ 1 Dialog Work Process ประกอบด้วย
Task Handler
ABAP Processor
DYNPRO Processor – ทำหน้าที่ประมวลผลบนหน้าจอ
DB Interface – เป็นตัวแปลคำสั่ง Database
ส่วนที่ 2 Local Memory ประกอบด้วย
User Context
Memory Space
List buffer
ส่วนประกอบของ work process
ระบบ SAP สามารถติดต่อฐานข้อมูลกับค่ายอื่นๆได้หลากหลาย แต่ที่นิยมมีอยู่ 5 ค่ายดังนี้
1. Informix
2. DB2
3. DB4
4. MSSQL
5. Oracle
การ Implement ระบบ SAP ส่วนใหญ่แบ่งเป็น 2 แบบคือ
1. 2 System Landscape
จากรูปการ Implement ลักษณะนี้จะมีข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Hardware เพราะเราไม่ต้องเพิ่ม Server เพื่อทำการทดสอบ Production ก่อนขึ้นจริง แต่ก็จะมีข้อเสียคือ เสี่ยงหาก Production เกิดข้อผิดพลาด ถ้างานไม่สมบูรณ์ ซึ่งวิธีนี้ทาง SAP ไม่แนะนำ
2. 3 System Landscape
จากรูป การ Implement ลักษณะนี้จะมีข้อดี คือได้มีการทดลองงานต่างๆ ก่อนขึ้น production จริง ทำให้งานมีประสิทธิภาพ แต่ ข้อเสีย ก็คือ ต้องมีค่าใช้จ่ายเพื่อวาง server เพิ่ม แต่ทาง SAP แนะนำให้ใช้วิธีนี้

คำศัพท์ที่ควรรู้ในระบบงาน SAP
– Module/Sub-Module คือ ระบบงาน/ระบบงานย่อย เช่น FI, AP, AM Submodule เป็นต้น
– Configuration – คือการกำหนดค่าให้ระบบสามารถทำงานตามที่วางแผนไว้ได้ตามผู้ใช้งาน
– System Parameter คือค่าที่ต้องระบุให้ระบบสามารถทำงานได้
– Session คือ หน้าจอการทำงานของระบบ SAP ซึ่งปกติระบบจะอนุญาติให้ทำงานได้พร้อมกัน 6 session
– Transaction Code คือ รหัสหมายเลขของหน้าจอการทำงาน เช่น หน้าจอการสร้างรหัสบัญชี คือ FSS0
การทำงานในระบบ SAP แบ่งออกเป็น 3 ทีม ดังนี้
1. ทีม Consult
2. ทีม Configuration
3. ทีม ABAP
คำสั่งใน SAPGUI
/o – open session ใหม่
/n – ปิด program
/nex – logoff จากระบบ SAP
/i – ลบ session ที่ทำงานอยู่ปัจจุบัน
/bend
/nSkip